บทที่ 1
คอมพิวเตอร์ คืออะไร จงอธิบาย
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Device)ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นไปได้ ทั้งตัวเลข ทั้งตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่างๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้
คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วย
1.หน่วยเก็บ ความสมารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน
2.ความเร็ว ความสามารถในการประมวณผลข้อมูลโดยใช้เลาน้อย
3.ความเป็นอัตโนมัติ ความสามารถในการประมวณผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนอย่างถูกต้อง
4.ความน่าเชื่อถือ ความสามารถในการประมวณผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
อธิบายถึงองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ มี
1. ฮาร์ดแวร์ เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจับต้องได้
2. ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรม หรือ ชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
3. กระบวนการทำงาน หมายถึงกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
4. ข้อมูลและสารสนเทส
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ทำการวิเคราะห์แล้วนำมาสรุป
5. บุลลากร คือ ผู้ใช้งาน ไปจนถึง ผู้บริหาร
ยกตัวอย่างฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ มา 10 ชนิด พร้อมทั้งระบุหน้าที่ของยกตัวอย่างฮาร์ดแวร์นั้น
1. เมาส์ ใช้ชี้ตำแหน่งหรือระบุตำแหน่งต่างๆบนหน้าจอแสดงผล
2. คีย์บอร์ด ใช้ป้อนข้อมูล ตัวอักษร หรือ ตัวเลข เข้าสู่คอมพิวเตอร์
3. หน้าจอ ใช้แสดงผลข้อมูลต่างๆให้เห็นบนหน้าจอ
4. ไมค์ ใช้เพื่อเป็นการรับเสียงเข้าสู่ระบบ หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์
5. ลำโพง ใช้เพื่อกระจายเสียงต่างๆ ออกมาให้ได้ฟัง
6. CPU ใช้ในการประมวผลข้อมูล
7. RAM ใช้เก็บข้อมูลสำรอง
8. HDD ใช้จัดเก็บข้อมูลที่รอเอามาใช้ในอนาคต
9. UPS ใช้ในการสำรองไฟ.
10. CD Drive ใช้อ่านแผ่นCD
หน่วยรับข้อมูล (Input device) คืออะไร ได้แก่อะไรบ้าง
หน่วยรับข้อมูล คือ ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูลมีหลากหลายอุปกรณ์ ได้แก่
Keyboard คือ ใช้ในการป้อนข้อมูลตัวอักษร ตัวเลข เข้าสู่คอมพิวเตอร์
Mouse คือ ใช้ชี้ตำแหน่งหรือระบุตำแหน่งต่างๆบนหน้าจอแสดงผล
Scanner คือ อุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลได้
Joy Sticks คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมทิศทางของวัตถุบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้ในการเล่นเกม
Voice Input Devices คือ อุปกรณ์รับข้อมูลในรูปแบบเสียงโดยจะทำการแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณดิจิทัลแล้วจึงส่งไปยังคอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) มีหน้าที่อย่างไรบ้าง
หน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่ ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา
รีจิสเตอร์ หน่วยความจำหลัก และ หน่วยความจำสำรอง มีความแตกต่างกันอย่างไร
Register มีหน้าที่ ในการเก็บข้อมูล ชั่วคราว
หน่วยความจำหลัก ใช้เป็นที่เก็บข้อมูลก่อนนำไปประมวลผล เก็บคำสั่งของโปรแกรม ขณะใช้งาน และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำไปแสดงผล
หน่วยความจำสำรอง มีหน้าที่เก็บข้อมูลถาวร
หน่วยความเร็วที่ใช้วัดในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ คืออะไร
หน่วยความเร็วที่ใช้วัดในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ คือ กิกะเฮิร์ตซ์ (GHz = Gigahertz)
การแสดงผลแบบ soft copy กับ hard copy มีความแตกต่างกันอย่างไร แต่ละรูปแบบเหมาะสำหรับงานชนิดใด
Soft Copy ข้อมูลที่อยู่ภายในคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถจับต้องได้
Hard Copy เป็นข้อมูลในกระดาษหรือหนังสือที่สามารถจับต้องได้
I-Time และ E-Time คืออะไร จงอธิบาย
I-Time คือ การเอาคำสั่งและแปลความหมายเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่อ
E-Time คือ การคำนวณและนำผลลัพธ์ไปเก็บเพื่อรอให้เรียกใช้
ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง พร้อมทั้งยกตัวอย่างซอฟต์แวร์แต่ละประเภท
ซอฟต์แวร์ มี 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software)
คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของ Hardware ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน เช่น Windows
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)
คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่าง หรือเฉพาะด้าน เช่น Microsoft Word
ผู้ใช้ (People ware) สามารถแบ่งได้เป็นกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ผู้ใช้ (People ware) สามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
1. System Manager คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. System Analyst คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. Programmer คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. User คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
ข้อมูล กับ สารสนเทศ มีความแตกต่างกันอย่างไร
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ทำการวิเคราะห์แล้วนำมาสรุป
สารสนเทศที่มีประโยชน์ควรมีคุณสมบัติอย่างไร
คอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้เป็นกี่ยุค แต่ละยุคมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร
คอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ 5 ยุค คือ
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในช่วง ค.ศ 1951 - 1958 เป็น คอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสูญญากาศ (Vacuun Tube) ขนาดใหญ่ ต้องใช้พลังงาน ไฟมากในการทำงานการใช้งานยาก ราคาแพง
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในช่วง ค.ศ 1959 - 1964 เป็น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอรที่พัฒนาโดยเทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำ นำมาใช้ แทนหลอดสุญญากาศทำให้คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในช่วง ค.ศ 1965 - 1971 เป็นคอมพิวเตอร์ที่สร้างจาก อุปกรณ์ ที่เรียกว่าวงจรรวม (Integrated Circuit) วงจรรวมเป็นวงจรที่นำเอาทรานซิสเตอร์หลายๆ ตัวมาประดิษฐ์รวามบนชิ้นส่วนเดียวกัน ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง และราคาก็ถูกลงกว่าเดิม
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในช่วง ค.ศ 1972 - 1980 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจร รวมขนาดใหญ่ขึ้นที่รวมการทำงานของทรานซิสเตอร์จำนวนมากขึ้นไว้บนชิ้นส่วนเดียว ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลงเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่เราเห็นกันทั่้วไป
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานตั้งแต่ ค.ศ 1981 จนถึงปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ ได้พัฒนาจนมีความแตกต่างไปจากคอมพิวเตอร์ในยุคก่อนหน้านี้มาก ทั้งขนาดคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความสะดวกและความหลากหลายในการใช้งาน เช่นคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เป็นต้น และความสามารถอีกหลายอย่างที่อยู่ระหว่างการพัฒนา เช่น การรับรู้คำสั่งด้วยเสีัยงพูดหรือ ประโยคที่เป็นภาษามนุษย์ คอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียนรู้คิดตัดสินใจเช่นเดียวกันมนุษย์
จงวิเคราะห์ว่าคอมพิวเตอร์ในอนาคตจะสามารถทำอะไรได้บ้าง
ศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างปัญญาเทียมเลียนแบบการคิดหรือสมองของมนุษย์ ซึ่งในงานหลายๆด้านก็มีการประยุกต์เอาคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้เพื่อคิดและตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
อธิบายความหมายและหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้ ระบบปฏิบัติการช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น
ระบบงานแบบใดใช้เทปแม่เหล็กเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม ( Batch Processing) หมายถึง การประมวลผลโดยการจัดรวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วจึงส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผลครั้งเดียว ซึ่งขั้นตอนการประมวลผล จะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่อง คอมพิวเตอร์
ระบบใดใช้ในการควบคุมกระบวนการทางอุตสาหกรรม
ระบบเรียลไทม์ จุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งของ ระบบปฏิบัติการ คือ ระบบเวลาจริง(Real-time system) หมายถึงการตอบสนองทันที เช่นระบบ Sensor ที่ส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ เครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ ระบบภาพทางการแพทย์ ระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบหัวฉีดในรถยนต์ ระบบควบคุมการยิง ระบบแขนกล และ เครื่องใช้ในครัวเรือนทั้งหมด
ระบบใดที่ทำให้ผู้ใช้คิดว่าสามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่อง
ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming)หมายถึงระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้มากกว่า 1 งานพร้อม ๆ กัน ดังนั้นผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถที่จะทำงานพร้อม ๆ กันได้โดยไม่ต้องรอ แต่อย่างไรก็ตามเทคนิคที่ใช้ในระยะแรกก็เป็นแบบ Multiprogrammed Batch Systems คือหน่วยประมวลผลก็จะยังทำงานทีละงานเรียงกันไป CPU จะประมวลผลเฉพาะงานที่บรรจุอยู่ในหน่วยความจำเท่านั้น
ระบบใดมี CPU มากกว่า 1 ตัว
ระบบมัลติโปรเซสเซอร์ (Multipocessor System) ระบบส่วนมากจะใช้โปรเซสเซอร์เพียงตัวเดียว หรือใช้ซีพียูหลักเพียงหนึ่งตัวนั่นเอง แต่ก็มีระบบที่ใช้โปรเซสเซอร์มากกว่าหนึ่งตัวที่เรียกว่า “ระบบมัลติโปรเซสเซอร์” ระบบในลักษณะนี้จะใช้การติดต่อสื่อสารในระยะใกล้, มีการใช้บัส (bus), สัญญาณนาฬิกา (clock) ,หน่วยความจำ และดีไวซ์ร่วมกัน มีเหตุผลหลายประการที่ใช้มัลติโปรเซสเซอร์ ซึ่งอาจจะมีเหตุผลดังนี้ เพิ่มประสิทธิภาพของเอาต์พุต การที่ใช้ระบบมัลติโปรเซสเซอร์จะทำให้ได้เอาต์พุตเร็วขึ้น ใช้เวลาน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้าใช้ N โปรเซสเซอร์ แล้วงานจะเสร็จเร็วขึ้น N เท่า แต่น้อยกว่า N แน่นอน ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับระบบโปรเซสเซอร์เดี่ยวหลายระบบ ทั้งนี้เนื่องจากในระบบมัลติโปรเซสเซอร์สามารถแบ่งปันดีไวซ์ต่าง ๆ ได้ ถ้าโปรแกรมต่าง ๆ ต้องการข้อมูลชุดเดียวกันจะเป็นการประหยัดเมื่อเก็บไว้บนดิสก์เดียวกันแล้วแชร์ให้ใช้งานร่วมกันดีกว่าการใช้ดิสก์ระบบละหนึ่งตัวโดยมีข้อมูลชุดเดียวกันความน่าเชื่อถือของระบบ เนื่องจากถ้ามีโปรเซสเซอร์ใดทำงานผิดพลาด หรือทำงานไม่ได้ โปรเซสเซอร์ตัวอื่นก็สามารถทำงานทดแทนได้ทันที โดยรับส่วนแบ่งมาช่วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าระบบใช้โปรเซสเซอร์ 10 ตัว แล้วมีตัวหนึ่งที่ไม่ทำงาน โปรเซสเซอร์อีก 9 ตัวจะแบ่งงานของตัวนั้นไปทำต่อ
ระบบเรียลไทม์ จุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งของ ระบบปฏิบัติการ คือ ระบบเวลาจริง(Real-time system) หมายถึงการตอบสนองทันที เช่นระบบ Sensor ที่ส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ เครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ ระบบภาพทางการแพทย์ ระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบหัวฉีดในรถยนต์ ระบบควบคุมการยิง ระบบแขนกล และ เครื่องใช้ในครัวเรือนทั้งหมด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น