บทที่3





บทที่3

โปรเซสคืออะไร สถานะของโปรเซสมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
      
       โปรเซส คือ โปรแกรมที่กำลังเอ็กซิคิวต์อยู่

       สถานะของโปรเซส มี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สถานะของโปรเซส

          1.New        คือโปรเซสที่เพิ่งสร้างขึ้น
          2.Ready     คือสถานะที่โปรเซสพร้อมที่จะใช้งานซีพียูทันที่ที่ โอเอสมอบหมายให้ 
          3.Running คือสถานะที่โปรเซสครอบครองซีพียู หรือซีพียูมีการ เอ็กซ์คิวต์คำสั่งของโปรเซสนั้น
          4.Waiting  คือสถานะที่โปรเซสนั้นกำลังรอเหตุการณ์อะไรบาง อย่าง
          5.Terminated คือสถานะของโปรเซสที่ประมวลผลเสร็จสิ้น

เวลา Quantum Time คืออะไร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เวลาที่ขอใช้งาน CPU
        
        Quantum Time คือ เวลาที่ขอใช้งาน CPU


ปัญหา DeadLock เกิดขึ้นได้อย่างไร

 รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

     ปัญหา DeadLock เกิดขึ้น
        ทรัพยากรเป็นแบบใช้ร่วมกันไม่ได้ 
        -1โปรเซสเท่านั้นที่จะใช้ทรัพยากรได้ อีกโปรเซสต้องรอ  ไม่มีการแทรกกลางคัน
        -ทรัพยากรจะถูกคืนเมื่อโปรเซสต้องการค้น  หากไ่ม่คืน OS ทำอะไรไม่ได้

สถานะ Block เกิดขึ้นได้อย่างไร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สถานะ Block เกิดขึ้นได้อย่างไร

       สถานะ Block เกิดขึ้นได้ จากโปรเซสต้องการใช้อุปกรณ์ อินพุต/เอาต์พุต หรือเกิดอินเทอร์รัพต์ระหว่างที่รันโปรเซส ซึ่งจะต้องรอให้มีการจัดการอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต หรือจัดการอินเทอร์รับต์ให้เรียบร้อยก่อนจะกลับไปสถานะรันได้ต่อไป
       

การติดต่อกันระหว่าง Process เป็นหน้าที่ของใคร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การติดต่อกันระหว่าง Process

การติดต่อกันระหว่าง Process เป็นหน้าที่ของโปรเซสสื่อประสาน (Cooperating Process)

โปรเซสสื่อประสาน (Cooperating Process)
 โปรเซสสื่อประสาน (Cooperating Process) มีดังนี้
 - การแชร์ข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากผู้ใช้จะมีความต้องการข้อมูลเดียวกันในเวลานั้นๆ เช่น ( ต้องการใช้ไฟล์ที่ระบบแชร์ไว้ )
 - การเพิ่มความเร็วมรการคำนวณ ด้วยหลักการง่ายๆ ที่ว่า ถ้าเราต้องการรันโปรแกรมพิเศษให้เร็วขึ้น เราจะต้องแบ่งโปรแกรมนั้นออกเป็นส่วยย่อยๆ แล้วเอ็กซิคิวต์แต่ละส่วนพร้อมกับงานอื่น - ความสะดวก สิ่งทีเกิดจากความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนที่ต้องการทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องการทั้งแก้ไขข้อมูล พิมพ์ และคอมไพล์งานพร้อมๆ กัน ทำให้มีความจำเป็นต้องประสานกับโปรเซสอื่น

พอร์ท มีกี่แบบอะไรบ้าง

    พอร์ท ปัจจุบันมี 3 แบบ 

      1.พอร์ทแบบคิว โครงสร้างของพอร์ทแบบนี้ข้อมูลชุดใดที่ถูกส่งเข้าพอร์ทก่อนจะถูกดึงออกไปก่อน ข้อมูลชุดใดที่ถูกส่งเข้าพอร์ททีหลังจะถูกดึงออกไปทีหลัง


      2.พอร์ทแบบไปป์ มีลักษณะการทำงานเหมือนพอร์ทแบบคิว แต่ไปป์มีความยาวของพอร์ทไม่จำกัด ในขณะที่พอร์ทแบบคิวมีความยาวของพอร์ทคงที่ 

      3.พอร์ทแบบแสต๊ก มีกลไกการทำงานโดยข้อมูลชุดใดที่ถูกส่งเข้าพอร์ทก่อนจะถูกดึงออกไปใช้ทีหลังก่อน ข้อมูลชุดใดที่ถูกส่งเข้าพอร์ททีหลังจะถูกดึงออกไปใช้ก่อน

จงยกตัวอย่าง พอร์ทแบบสเต็ก

ข้อมูลชุดใดที่ถูกส่งเข้ามาก่อนจะถูกดึงออกทีหลัง ข้อมูลที่จะถูกดึงออกจากพอร์ทคือข้อมูลชุดหลังสุดที่ถูกส่งเข้ามาในพอร์ท

Mutual exclusion เกิดขึ้นได้อย่างไร

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Mutual exclusion เกิดขึ้นได้จะต้องมีทรัพยากรอย่างน้อย 1 ตัว จัดอยู่ในกลุ่มทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันไม่ได้ นั่นคือ จะมีเพียง 1 กระบวนการเท่านั้นที่จะใช้ทรัพยากรตัวนั้นได้ ถ้ามีกระบวนการอื่นร้องขอทรัพยากรที่กำลังถูกใช้อยู่ กระบวนการนั้นจะต้องรอ จนกระทั่งทรัพยากรนั้น ถูกคืนกลับสู่ระบบแล้ว


ปัญหาการอดตาย เกิดขึ้นได้อย่างไร


เมื่อโปรเซสใดโปรเซสหนึ่ง ต้องการใช้อุปกรณ์พร้อมกัน โปรเซสที่จะได้ใช้ก่อนก็คือโปรเซสที่มีลำดับความสำคัญสูงกว่า

องค์ประกอบของโปรเซส มีอะไรบ้าง

องค์ประกอบของโปรเซส มี 

1. ชื่อและหมายเลขโปรเซส (Process ID) เป็นหมายเลขประจำโปรเซสเพื่อกำหนดลำดับการเอ็กซีคิ้วต์
2. โค้ดโปรแกรม (Program code) เป็นโค้ดคำสั่งที่เป็นภาษาเครื่องที่สามารถเอ็กซิคิวต์ได้ทันที
3. ข้อมูล (Data) เป็นข้อมูลของโปรเซสหนึ่ง หรืออาจใช้ร่วมกับโปรเซสอื่นๆ ก็ได้
4. บล็อกควบคุมโปรเซส (Process Control Block : PCB) เป็นเนื้อที่ของหน่วยความจำที่ระบบปฏิบัติการกำหนดไว้เพื่อเก็บข้อมูที่สำคัญของโปรเซสไว้
5. บล็อกควบคุมโปรเซส (Process Control Block : PCB) OS จะกำหนดเนื้อที่บางส่วนในหน่วยความจำเพื่อทำเป็น PCB





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่2

บทที่ 7